วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ศาสนาของฝรั่งเศส

ชาวยุโรปนับถือศาสนาครสต์ มี 3 นิกาย
3.1 นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของกลุ่มประชากรผู้ใช้ภาษาโรแมนซ์หรือภาษาละติน ยกเว้นโรมาเนีย ประชากรนับถือนิกายออร์โธดอกซ์ ประชากรกลุ่มภาษาอื่น เช่น ไอร์แลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย เช็ก สโลวัก ฯลฯ
3.2 นิกายโปรเตสแตนต์ เป็นศาสนาของกลุ่มประชากรในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร
3.3 นิกายออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาของประชากรในประเทศคาบสมุทรบอลข่านและยุโรปตะวันออก เช่น กรีซ บัลแกเรีย มาซิโดเนีย ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย รัสเซีย ยูเครน ฯลฯ

10 เหตุผลทำไมครั้งหนึ่งในชีวิตควรไปเที่ยว “เทือกเขาแอลป์”

เทือกเขาแอลป์ คือ เทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปครับ และกินพื้นที่ในหลายประเทศ และมีความแตกต่างทางภูมิประเทศค่อนข้างมาก มีตั้งแต่ทุ่งหญ้า, ที่ราบสูง, น้ำตก, ธารน้ำแข็ง และหมู่บ้านกลางหุบเขา ทำให้เทือปเขาแอลป์มีเสน่ห์เป็นอย่างมากครับ และวันนี้เราจะขอรวบรวมเอา 10 เหตุผลที่ครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อนๆ ควรหาเวลาจองตั๋วเครื่องบินไปเยือนเทือกเขาแอลป์กันสักครั้ง มาดูกันเลยครับว่าจะมีเหตุผลอะไรบ้าง

1. เทือกเขาแอลป์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมี แพะ หรือแม้กระทั่ง อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ ก็สามารถพบได้ที่นี่
alps-1.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

2. สภาพอากาศของเทือกเขาแอลป์มีความหลากหลายมากๆ ครับ ทางตอนใต้ของเมือกเขาแอลป์นั้น จะเป็นชายหาด และเป็นแหล่งต้นปาล์ม ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางตอนกลางของเทือกเขาแอลป์นั้นก็จะเป็นที่ราบสูง และมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี
alps-2.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

3. ป่าบริเวณที่ราบสูงของเทือกเขาแอลป์ คือแหล่งต้นน้ำ ของน้ำจืดกว่า 90% ของน้ำที่บริโภคกันในทวีปยุโรป
alps-3.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

4. ยอดเขาต่างๆ บนเทือกเขาแอลป์ที่สวยงาม เกิดจากการชนกันของแผ่นทวีปสองทวีปคือแผ่นยุโรปและแอฟริกา นั่นหมายความว่า บริเวณยอดเขาเหล่านั้ร เคยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นทวีปแอฟริกามาก่อนนั่นเอง
alps-4-1.jpg

alps-4-2.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

5. ในฤดูร้อน เกษตรกรเลี้ยงสัตว์จะต่างพาวัวของพวกเขาขึ้นมากินหญ้าบนทุ่งหญ้าที่เทือกเขาแอลป์ และต่างพากันอาศัยอยู่ในกระท่อมบนเทือกเขาแอลป์ ที่บรรพบุรุษของพวกเขาสร้างทิ้งเอาไว้นับร้อยๆ ปี
alps-5-1.jpg

alps-5-2.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia 


6. เทือกเขาแอลป์มีผู้คนอาศัยอยู่ราว 14 ล้านคนกินพื้นที่ไปหลายประเทศ ตั้งแต่ อิตาลี, สโลวีเนีย, สวิตเซอร์แลนด์, โมนาโค, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี, ฝรั่งเศส และออสเตรีย
alps-6.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

7. และผู้คนที่อยู่อาศัยบริเวณเทือกเขาแอลป์นั้น ยังคงมีการใช้ชีวิตตามวิถีดั้งเดิมเป็นส่วนมากนะครับ เกษตรกรยังมีการทำชีสจากสัตว์ที่เขาเลี้ยงเอง ทำไร่แบบดั้งเดิม, งานไม้ เป็นต้น ซึ่งพวกนี้เพื่อนๆ สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวและสัมผัสได้ตามหมู่บ้านบริเวณที่ราบสูงที่เทือกเขาแอลป์นั่นเอง
alps-7.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

8. เคยมีการค้นพบซากศพชายถูกทำเป็นมัมมี่คาดว่าอายุราว 5,000 ปี ถูกฝังอยู่ใต้ธารน้ำแข็งที่บริเวณเทือกเขาแอลป์ ส่วนบริเวณชายแดนประเทศออสเตรียและอิตาลี
alps-8.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

9. เทือกเขาแอลป์กินพื้นที่กว่า 1 ใน 10 ของเนื้อที่ของทวีปยุโรปทั้งหมด และด้วยเทคโนโลยีการเดินทางที่สะดวกสบายและทันสมัยในปัจจุบันนั้น ช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเที่ยว และทำกิจกรรมอาทิ เล่นสกีได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย
alps-9-1.jpg

alps-9-2.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

 
10. ด้วยความน่าสนใจ และเสน่ห์ที่เรากล่าวมาทั้งหมดของเทือกเขาแอลป์นั้น ทำให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเที่ยวเทือกเขาแอลป์รวมกันกว่า 120 ล้านคน
alps-10.jpg
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

ประวัติ ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)



บุพเพสันนิวาส ละครแนวพีเรียด คอมเมดี้ ที่กำลังมาแรง นอกจากความสนุกก็ยังมีในเรื่องของประวัติศาสตร์ที่สอดแทรกสาระความรู้ด้วยนะคะ แคมปัส-สตาร์ ขอนำเรื่องราวของ ท้าวทองกีบม้า หรือตัวละครที่ชื่อ มารี กีมาร์ ในละคร บุพเพสันนิวาส (รับบทโดย ซูซี่-สุษิรา แอนจิลีน่า) มาให้ทุกคนได้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ ในอดีตมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า มารี เธอรับราชการในห้องเครื่องต้น และได้เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขนมไทยขึ้นมา อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง ขึ้นมา จนได้รับได้รับฉายา”ราชินีแห่งขนมไทย”

ประวัติ ท้าวทองกีบม้า ชีวิตรุ่งโรจน์ และตกอับ

ท้าวทองกีบม้า
ปกนิยายเรื่อง “ท้าวทองกีบม้า” โดยคึกเดช กันตามระ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ จากในละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ในอดีตมีเรื่องเล่าว่า เธอมีตัวตนจริงๆ และเป็นที่รู้จักจากการที่เธอได้รับหน้าที่ เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขนมไทยที่เรารู้จักกันดีเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ขนมหม้อแกง ก็ได้เธอผู้นี่แหละที่เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นมา

ประวัติ ท้าวทองกีบม้า

คำว่า ท้าวทองกีบม้า คือตำแหน่งหน้าที่การงานในพระราชสำนักตามพระไอยการ และชื่อ  มารี กีมาร์ ก็เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ชอบเรียก แต่จริงๆ แล้วเธอมีชื่อจริงว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) อ่านชื่อก็น่าจะพอเดากันออกว่าเธอไม่ใช่คนไทยแท้ๆ  ครอบครัวของมารี เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส และยังมีเชื้อสาย เบงกอล และญี่ปุ่น ร่วมด้วย โดยเธอเป็นลูกคนโตของคุณพ่อ ฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) ซึ่งมีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัว และมีคุณแม่ชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ (Ursula Yamada) ผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น

ชีวิตแต่งงานเริ่มตอนอายุ 16

ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)
ภาพประกอบจาก ละครบุพเพสันนิวาส  IG: susiroo
มารี กีมาร์ได้สมรสตอนอายุ 16 ปี กับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน (ในเรื่องบุพเพสันนิวาส รับบทโดย หลุยส์ สก็อต) เขาเป็นขุนนางชาวกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และว่ากันว่าเป็นคนโปรดของพระรายณ์ด้วย สำหรับการสมรสของมารี ในตอนแรกคุณพ่อของเธอไม่พอใจนัก เพราะรู้ถึงพฤติกรรมของลูกเขยที่หลงลาภยศสรรเสริญ และมักในโลกีย์ หรือเจ้าชู้นั่นเอง ทางลูกเขย หรือฟอลคอนจึงแสดงความจริงใจด้วยการยอมละนิกายแองกลิคันที่ตนนับถือ และเปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกตามมารี คุณพ่อจึงยินยอม และได้แต่งงานกันในที่สุด
หลังจากแต่งงานแรกๆ ทั้งคู่ก็ใช้ชีวิตด้วยความสุขเป็นอย่างดี ตัวมารีเองถึงแม้สามีจะมียศใหญ่เชิดหน้าชูตาได้ แต่เธอก็ทำตัวธรรมดา ไม่ได้อวดร่ำรวยแต่อย่างใด และยังมีน้ำใจเผื่อแผ่เมตตาช่วยเหลือผู้คนมากมาย โดยเฉพาะเด็กๆ เธอและสามียังอุปถัมภ์เข้ารีตกว่า 120 คน พร้อมกันนั้นด้วยความที่เป็นคนเคร่งศาสนาจึงไม่ลืมที่จะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปด้วย สามีของเธอก็ดูปลื้มใจปลื้มปีติ โดยอ้างอิงได้จาก ในงานบันทึกของบาทหลวงเดอ แบซ ได้กล่าวถึงพฤติกรรมท้าวทองกีบม้าหลังการสมรสกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ความว่า
“…เขา (เจ้าพระยาวิชเยนทร์])ได้รับความชุ่มชื่นใจจากความเลื่อมใสศรัทธาและความกระตือรือร้นในพระศาสนาของภรรยาเป็นที่ยิ่ง จึงทำให้บ้านเรือนของเขานั้นเปรียบเสมือนว่าเป็นบ่อแห่งคุณธรรมความดีและพระศาสนา จนแทบกล่าวได้ว่า เป็นโรงธรรมยิ่งกว่าจะเป็นทำเนียบของขุนนางผู้ใหญ่ในแผ่นดินเสียอีก…”

ชีวิตคู่เริ่มไม่ราบรื่น

ท้าวทองกีบม้า และเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ครองรักกันมาจน มีบุตรด้วยกัน 2 คือ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) และ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantin Phaulkon) จริงๆ แล้วก่อนหน้าที่มารีจะแต่งงาน ฟอลคอนเคยมีบุตรสาวมาแล้วมาแล้วหนึ่งคน ที่เกิดกับหญิงชาววัง ซึ่งได้รับพระราชทานจากกรมหลวงโยธาเทพเพื่อผูกมัดฟอลคอนไว้กับราชสำนัก หลังมารีสมรสจึงส่งหญิงผู้เคยเป็นเมียของสามีเธอไปเมืองพิษณุโลก และแสดงน้ำใจด้วยการนำบุตรของหญิงผู้นั้นมาเลี้ยงเองเป็นอย่างดี อาจดูเหมือนชีวิตความรักของมารีน่าจะราบรื่นมีความสุข แต่จริงๆ แล้วไม่ ด้วยเพราะเหตุที่สามี เป็นคนมีนิสัยเจ้าชู้ ได้แอบไปนอกใจมารี ไปมีสัมพันธ์สวาทกับ คลารา (Clara) นางทาสชาวจีนในอุปการะของมารีเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เธอรู้สึกไม่พอใจ และไม่อยู่ร่วมกัยสามีอีก จึงขนข้าวของ และผู้คนจากลพบุรีกลับไปที่กรุงศรีอยุธยามาแล้วครั้งหนึ่ง

วันที่ชีวิตตกอับก็มาถึง

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นสามีของมารี ถูกตัดสินประหารชีวิต และริบราชบาตรหลังเกิดจลาจลก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงไม่กี่วัน ขณะที่เจ้าพระยาวิชเยนทร์กำลังจะถูกประหารนั้น บางบันทึกระบุว่า “นางเศร้าโศกร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจ” บ้างก็ว่า นางมิได้ร่ำไห้ให้สามีแม้แต่น้อย แต่นางกลับถ่มน้ำลายรดหน้าสามี และไม่ยอมให้จูบลาลูก บาทหลวงอาร์ตุส เดอ ลียอน ที่เข้ามาเผยแผ่พระศาสนาในช่วงนั้น ได้ระบุเหตุการณ์ การจัดการทรัพย์สินของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ดังกล่าวว่า
“…วันที่ 30 พฤษภาคม เขาได้เรียกตราประจำตำแหน่งของสามีนางคืนไป วันที่ 31 ริบอาวุธ เอกสาร และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย วันต่อมาได้ตีตราประตูห้องหับทั่วทุกแห่งแล้วจัดยามมาเฝ้าไว้ วันที่ 2 มิถุนายน ขุนนางผู้หนึ่งนำไพร่ 100 คนมาขนเงิน เครื่องแต่งบ้านและจินดาภรณ์ไป…”
แต่กระนั้นเธอยังลอบแบ่งทรัพย์สินและเครื่องเพชรออกเป็นสามกล่อง สองกล่องแรกไว้กับบาทหลวงเยสุอิต ส่วนอีกกล่องเธอฝากไว้ที่ทหารฝรั่งเศสชั้นนายร้อยไป แต่บาทหลวงเยสุอิตเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงฝากไว้กับนายพันโบช็อง แต่เมื่อทั้งบาทหลวงและนายพันโบช็องมาถึงบางกอก นายพลเดฟาร์ฌ จึงเก็บทรัพย์สินทั้งหมดไว้เอง ครั้นเมื่อถึงเวลาคืนทรัพย์สินของฟอลคอนแก่ออกญาโกษาธิบดีผู้แทนของไทย “ทรัพย์สินที่คงเหลือมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น” จึงทำให้มารีอาสิ้นเนื้อประดาตัว ประสบเคราะห์กรรมและความทุกข์อย่างสาหัส ทั้งยังต้องทนทุกข์เวทนากับคุมขัง ดังปรากฏในบันทึกของบาทหลวงเดอ แบซ ความว่า
“…สุภาพสตรีผู้น่าสงสารผู้นั้น ถูกโยนเข้าไปขังไว้ในโรงม้าอันคลุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ไม่มีข้าวของติดตัวไปเลย มีแต่ฟากสำหรับนอนเท่านั้น”

โชคดีในโชคร้ายได้ไม่ทันไร

ช่วงเวลาที่นางถูกคุมขัง ก็ยังได้รับการช่วยเหลือจกาผู้คุมที่นางเคยได้รับการอุปการะเอื้อเฟื้อ  ถือเป็นความโชคดีในโชคร้ายไม่ทันไร นางก็ต้องเจอกับเหตุการณ์แย่ๆ อีกแล้ว เมื่อหลวงสรศักดิ์พระโอรสในสมเด็จพระเพทราชาพระเจ้าแผ่นดินใหม่ มีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นภริยา เมื่อไม่สมดั่งใจประสงค์ก็เกิดความเกลียดและขู่อาฆาต ดังปรากฏในพงศาวดารว่า
“…ฝ่ายภรรยาฟอลคอน ได้ถูกรังแกข่มเหงต่าง ๆ บุตรพระเพทราชาก็เกลียดนัก ด้วยบุตรพระเพทราชาได้ไปเกี้ยวภรรยาฟอลคอน แต่ภรรยาฟอลคอนไม่ยอม บุตรพระเพทราชาจึงเกลียดและขู่จะทำร้ายต่าง ๆ”
ตลอดเวลาทุกข์ลำบากนี้ นางพยายามหาทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา นายพลเดฟาร์ฌที่ประจำการที่ป้อมวิไชยเยนทร์ที่บางกอกได้ให้สัญญากับนางว่าจะพาออกไปพ้นกรุงสยาม แต่นายพลเดฟาร์ฌได้บิดพลิ้วต่อนาง
ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)
มารี รับบทโดย ซูซี่-สุษิรา แอนจิลีน่า/ ภาพประกอบจาก ละครบุพเพสันนิวาส/  IG: susiroo

การรับราชการท้าวทองกีบม้า และบั้นปลายชีวิต

มาดามฟอลคอน หรือมารีอา ได้เขียนจดหมายส่งไปยังบิชอป (Bishop)ฝรั่งเศส ในประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ. 2249  (บิชอป หรือมุขนายก หรือเรียกว่า กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถาน เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต์)
จุดประสงค์การเขียนจดหมายไปเพราะต้องการขอให้บาทหลวงกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บังคับให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทฝรั่งเศสที่สามีเคยเป็นผู้อำนวยการแก่นางบ้าง และพรรณนาความทุกข์ยากลำบากของนาง ความว่า
“…พระผู้เป็นเจ้าจะไม่พิศวงในเวรกรรมและภาวะของข้าพเจ้าในขณะบ้างละหรือ ตัวข้าพเจ้านั้นหรือ เมื่อก่อนจะไปในที่ประชุมชนแห่งใดในกรุงศรีอยุธยาก็ไปเช่นพระราชินี ข้าพเจ้าได้เคยรับพระมหากรุณาโดยเฉพาะโดยเอนกประการจากสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน บรรดาเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวงก็นับถือไว้หน้า ตลอดจนไพร่ฟ้าประชาชนทั้งหลายก็รักใคร่  ต้องทำงานถวายตรากตรำด้วยความเหนื่อยยากและระกำช้ำใจ มืดมนอนธการไปด้วยความทุกข์ยาก ตั้งหน้าแต่จะคอยว่าเมื่อใดพระเจ้าจะโปรดให้ได้รับแสงสว่างบ้าง ตอนกลางคืนนางก็ไม่มีที่พิเศษอย่างใด คงแอบพักนอนที่มุมห้องพระเครื่องต้น บนดินที่ชื้น ต้องคอยระวังเฝ้ารักษาเฝ้าห้องเครื่องต้น…”
จากจดหมายดังกล่าวก็จะพบว่า ขณะนี้นางได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเครื่องต้นในวังแล้ว สอดคล้องกับ จดหมายเหตุฝรั่งเศสโบราณ ที่บันทึกการปฏิบัติหน้าที่ในห้องเครื่องต้นของนาง ความว่า
“…ภรรยา (ของนายคอนสแตนติน) เป็นท้าวทองกีบม้าได้เป็นผู้กำกับการชาวเครื่องพนักงานหวาน ท่านท้าวทองกีบม้าผุ้นี้เป็นต้นสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวานคือขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอด ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมขิง ขนมไข่เต่า ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง และสังขยา”
ในบันทึกของเมอซีเยอโชมง (คนละท่านกับเชอวาลีเยเดอโชมง) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในปี พ.ศ. 2262-2267 ได้ให้ข้อมูลว่า หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าเสือ ชีวิตของมาดามฟอลคอนได้กลับมาดีขึ้นโดยลำดับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดเกล้าให้มาดามฟอลคอนเข้ามารับราชการฝ่ายใน โดยไว้วางพระราชหฤทัยให้นางดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และมีสตรีในบังคับบัญชากว่า 2,000 คน ทั้งนี้ท้าวทองกีบม้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต คืนเงินสู่ท้องพระคลังปีละครั้งมากๆ ทุกปี จนเป็นที่โปรดปรานในองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งจอร์จ บุตรชายของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดไว้ใกล้ชิดพระองค์ ดังปรากฏจากบันทึกของเมอซีเยอโชมง ความว่า
“…พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้หาจอร์จ บุตรของเมอซีเยอกงส์ต็องส์ แล้วโปรดให้แต่งตัวอย่างดี ๆ และรับสั่งให้นายจอร์จเรียนภาษาไทยเสียให้รู้ ได้โปรดให้เอานายจอร์จไว้ใช้ใกล้ชิดพระองค์ และได้โปรดเป็นครูด้วยพระองค์เอง สอนภาษาไทยให้แก่นายจอร์จ…”
จากความเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดปรานบุตรคนโตของนางมาก ส่วนบุตรคนเล็กคือ คอนสแตนติน ได้สนองพระเดชพระคุณสร้างออร์แกนเยอรมันถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จากหลักฐานของมิชชันนารีฝรั่งเศส คอนสแตนตินถูกเรียกว่า ราชมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของชุมชนคริสตัง
ในปี พ.ศ. 2260 รัฐบาลฝรั่งเศสได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของฟอลคอนแก่นางมารี ตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้ที่สุด หลังพ้นจากวิบากกรรมอันเลวร้าย ท้าวทองกีบม้าได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดโดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna) ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. 2265

รายชื่อขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าคิดประดิษฐ์ขึ้นมา

ภาพจาก: th.wikipedia.org
ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี เป็นอีกบุคคลในสมัยตอนปลายกรุงศรีอยุธยาได้นำวัฒนธรรมโปรตุเกสเผยแพร่เข้าสู่สังคมไทย เธอได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงจากตำรับอาหารโปรตุเกสให้เป็นขนมหวานของไทย ผสมผสานความรู้ด้านการทำอาหารที่มีมาแต่เดิม รวมเข้ากับวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ทั้งยังสอนความรู้ดังกล่าวแก่เหล่าสตรีในบัญชา จนตำรับเป็นที่เผยแพร่โดยทั่วไปและตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ทำให้เธอได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชินีแห่งขนมไทย” โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น มี 14 ขนมดังต่อไปนี้ ทองม้วน, ทองหยิบ, ทองหยอด, ทองพลุ, ทองโปร่ง, ฝอยทอง, กะหรี่ปั๊บ, ขนมหม้อแกง, สังขยา, ขนมผิง, สัมปันนี, ขนมขิง, ขนมไข่เต่า และลูกชุบ

วัฒนธรรม ในประเทศฝรั่งเศสและสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ

ชาวฝรั่งเศสมีวัฒนธรรมการนอนกลางวัน จึงส่งผลให้ประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสชอบนอนกลางวันตามไปด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนลึกของวัฒนธรรม คล้ายคลึงกับของอังกฤษและอิตาลีอยู่แล้ว ไม่สามารถแบ่งได้ชัดเจนเด่นชัด เช่น การจับมือ ภาษา เป็นต้น
สิ่งที่ควรทำ – ไม่ควรทำ
1.คุณสามารถกล่าวทักทายว่าบงชู (Bonjour) ซึ่งหมายถึงสวัสดีตอนเช้า
หรือบงซัว (Bonsoir) ที่หมายถึงสวัสดีตอนเย็น
กล่าวลาเมื่อจะจากไปด้วยคำว่า โอ”เครอ”วัว (Au revoir)  ที่แปลว่า ลาก่อน
และกล่าวขอบคุณว่า แม็กซิ (Merci) ได้
Bonjour in France
2. วิธีทักทายสำหรับคนที่รู้จักกันนั้นคือการแลกจูบแก้มซึ่งกันและกัน ไม่ว่าคู่ทักทายของคุณจะเป็นหญิงหรือชาย ตามงานพิธีต่างๆ ชาวฝรั่งเศสใช้วิธีชนแก้มกันทั้งสองข้าง (la bise) ว่ากันว่าชาวปารีสนิยมแนบแก้มกันถึง 4 ครั้ง ถ้าเป็นเมืองนอกเขตปารีสทำเพียง 2 ครั้ง
Bise bise
3. เมื่อไปรับประทานอาหารตามภัตราคารอย่าตะโกนเรียกบริกรว่า”การ์ซ็อง (garçon)” ที่ตรงกันกับภาษาอังกฤษว่า boy ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสถือว่าไม่ สุภาพ ควรเรียกว่าเมอซิเออร์ และกล่าวคำว่า ซิล วู เปล ซึ่งแปลว่ากรุณา เวลาสั่งอาหารหรือขออะไรเพิ่มเติมจึงถือว่าสุภาพและควรถอดหมวก เสื้อคลุม โอเวอร์โค๊ดหรือแจ้กเก็ต เพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ก่อนทุกครั้ง
Boy = Garcon
4. สนามหญ้าในฝรั่งเศสมีไว้ให้ดูและชื่นชมความเขียวชอุ่ม ห้ามแตะต้องเด็ดขาด ยกเว้นตามสนามหญ้าที่เปิดเป็นสาธารณะ หากคุณละเมิดกฏเข้าไปในสนามหญ้าซึ่งมีป้าย pelouse interdite แปลว่า สนามหญ้าห้ามเข้า กำกับอยู่ ถือว่าคุณทำผิดกฏหมาย
pelouse interdite - garden permitt
5. เมื่อชาวฝรั่งเศสต้องการโบกมือลาเขาจะยกมือพร้อมกับขยับนิ้วขึ้นลง ๆ
Say Good bye
6. รถแท็กซี่ในฝรั่งเศสนั่งได้ 3 คน เฉพาะที่ตรงด้านหลังคนขับเท่านั้นที่นั่งด้านขวามือข้างหน้าคู่กับคนขับ นั้น มักไว้ให้เป็นที่นั่งของสัตว์เลี้ยง
Taxi in Paris

วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ศาลโลก

ศาลโลก คืออะไร ?

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า -- อังคารที่ 15 สิงหาคม 2000 11:41:57 น.
         ศาลโลก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" (International Court of Justice : ICJ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2489 มีฐานะเป็นองค์กรหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) สำนักงานของศาลโลกตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
หลักของศาลโลกมี 2 ประการ คือ
         1. ตัดสินคดีพิพาทระหว่างรัฐบาลของรัฐภาคีที่เป็นสมาชิกของ UN และเป็นประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 62 ประเทศ จากสมาชิก UN รวม 188 ประเทศ นอกจากนี้ยังรวมถึงสวิตเซอร์แลนด์ ที่มิได้เป็นสมาชิกของ UN แต่ยอมรับอำนาจของศาลโลก
         2. วินิจฉัย ตีความ และให้คำปรึกษา ในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแก่องค์กรระหว่างประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก
         ศาลโลก ประกอบด้วย คณะผู้พิพากษาต่างสัญชาติกันจำนวน 15 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 9 ปี คณะผู้พิพากษาเหล่านี้ถือเป็นตัวแทนของ UN มิได้เป็นตัวแทนของรัฐบาลประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่
         การนำคดีความหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้ศาลโลกพิจารณา เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ
         1. รัฐคู่ความทำความตกลงกันให้นำกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างกันขึ้นสู่การพิจารณาตัดสินโดยศาลโลก
         2. รัฐภาคีเป็นสมาชิกของสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงต่าง ๆ ซึ่งมีข้อบัญญัติไว้ว่าหากรัฐภาคีมีข้อสงสัยหรือข้อพิพาทระหว่างกัน ต้องให้ศาลโลกเป็นผู้วินิจฉัย ตีความ หรือตัดสิน
         การวินิจฉัย ตีความ และพิจารณาคดีของศาลโลกนั้น ใช้กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับของชาติที่มีอารยธรรมเป็นหลัก ส่วนระเบียบวิธีพิจารณาคดีของศาลโลกก็คล้ายคลึงกับศาลทั่วไป โดยคู่พิพาทแต่ละฝ่ายต่างมีผู้แทนของรัฐและทนายความ เมื่อศาลโลกตัดสินคดีความใดแล้วต้องถือว่าเป็นอันยุติ ไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาแต่อย่างใด และหากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลก คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งสามารถร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้พิจารณาดำเนินการต่อไปได้ บางครั้ง UN อาจเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก UN ทำการคว่ำบาตรประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งจะได้ผลมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับความร่วมมือของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ด้วย
         จนถึงปัจจุบันศาลโลกทำการตัดสินคดีพิพาทระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ มาแล้ว 69 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาเขตแดน ปัญหาอธิปไตยเหนือดินแดน ปัญหาน่านน้ำ ปัญหาการแทรกแซงกิจการภายในจากประเทศอื่น ปัญหาความสัมพันธ์ทางการทูต เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนั้นเคยนำคดีขึ้นสู่ศาลโลก 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2504 คือ คดีเขาพระวิหาร ผลปรากฏว่าไทยแพ้คดีต่อกัมพูชา

ช็อกโกแลตกับวาเลนไทน์

ช็อกโกแลตกับวาเลนไทน์

วันวาเลนไทน์ วันแห่งการเฺฉลิมฉลองควารัก เรียกชื่อตามนักบุญวาลาเลนไทน์ สามท่านซึ่งพลีชีพเพื่่อ คริสต์ศาสนา ต้นกำเนิดของประเพณีฉลองวาเลนไทน์เริ่มขึ้นในยุคกลางในประเทศอังกฤษฝรั่งเศส
และ นักบุญวาเลนไทน์ 3 ท่าน เสียชีวิตไปก่อนที่ช็อกโกแลตจะเดินทางจากชุมชนแอซเทค มาขึ้นฝั่ง " โลกเก่า" ซึ่งหมายถึงดินแดงในทวีปยุโรปปัจจุบันเสียอีก คำถามคือ แล้วตกลง " ของขวัญจากเพทเจ้า" มาเกียวข้องกับวันวาเลนไทน์ถึงขนาดไต่ระดับขึ้นชาร์ตเป็นของขวัญสุดโรแมนติ คตีคู่มากับดอกกุหลาบแชมป์เปี้ยนตลอดศกของเทศกาลได้อย่างไร
คำ ตอบน่าจะอยู่ที่ความเชื่อดั้่งเดิมอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับช็อกโกแลตของชาว มายาและแอซเทคว่าช็อกโกแลตช่วยเพิ่มพลังทางเพศได้ ว่ากันว่าจักรพรรดิ์โมเทคอูห์โซมาของชาวแอซเทคนั้นดื่มน้ำช็อกโกแลตทั้งวัน เพื่อกระตุ้นความต้องการทางเพศ หรือแม้กระทั่งคาซิโนวา (Giacoma Casanova) นักรักผู้โด่งดังก็ได้รับคำเล่าลือว่า กินช็อกโกแลตก่อนจะร่วมเตียงกับผู้หญิงของเขา
ความ เชื่อนี้ภายหลังได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับการค้นพบว่า ช็อกโกแลตประกอบด้วยสาร 3 ชนิดคือ คาเฟอีน ทิโอโบรมีน (Theobromine) ซึ่งเป็นสารช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจและระบบประสาทและแฟนีเลทีลามีน (Phenylethylamine) เชื่อว่าช่วยให้อารมณ์และลดความเครียดและเป็นสารตัวเดียวกับที่สมองปล่อยออก มาเวลาคนเราตกหลุมรัก สาร 3 ชนิดนี้ผสมกันช่วยเพิ่มพลังงานและหัวใจเต้นเร็วขึ้น นี้อาจเป็นที่มาของความเชื่อที่ว่า ช็อกโกแลตมีส่วนสัมพันธุ์กับความรักก็ได้
ไม่เฉพาะ แต่ประเทศตะวันตกเท่านั้น ที่เฉลิมฉลองเทศกาลวันวาเลนไทน์ ประเทศฝั่งตะวันออกอย่างเราเรา ก็ไม่น้อยหน้า ประเทศที่มีประเพณีวันวาเลนไทน์ที่เป็นเอกลักษณ์น่าสนใจคือ ประเทศญี่ปุ่น
ปัจจุบัน ปริมาณช็อกโกแลตมากกว่าครึ่งที่ขายได้ในหนึ่งปีในเทศกาลวาเลนไทน์ในประเทศ ญี่ปุ่นนั้น ผู้หญิงไม่ได้ให้ช็อกโกแลตเป็นของขวัญเฉพาะแก่ผู้ชายที่เธอรักเท่านั้น พวกเธอยังซื้อช็อกโกแลตให้เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย เื่พื่อนผู้ชาย พี่น้องผู้ชาย หรือกระทั้งพ่อ เพื่อไม่ให้ผู้ชายเหล่านั้นรู้สึกเสียหน้าที่ไม่มีใครให้ช็อกโกแลต ช็อกโกแลตที่ผู้หญิงให้ผู้ชายที่เธอไม่ได้รู้สึกพิเศษอะไรด้วยจะเรียกว่า "Giri-choco" หรือช็อกโกแลตที่ให้ตามมารยาทหรือหน้าที่ ดั้งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่ในช่วงเทศกาลผู้หญิงญี่ปุ่นจะหอบเอาช็อกโกแลต 20-30 กล่องมาแจกจ่ายให้ผู้ชายทั่วสำนักงานรวมไปถึุงผู้ชายที่ติดต่อกันเป็นประจำ ด้วยราคาของช็อกโกแลตชนิดนี้โดยเฉลี่ยคือตั้งแต่ 100-200 เยนต่ออัน สำหรับผู้ชายที่เธอรัก พวกเธฮจะใ้ห้ช็อกโกแลตพร้อมกับของขวัญพิเศษอื่นๆ เช่น เนคไท เสื้อผ้า ช็อกโกแลตที่มอบให้ผู้ชายที่เธอชอบอย่างจริงจังนั้นเรียกว่า "honmei-choco" ซึ่งมีราคาแพงกว่า " Giri- choco" และบางครั้งเป็นช็อกโกแลตแบบโฮมเมด
อีก สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ อันเนื่องมาจากความเคร่งครัดเรื่องการรักษามารยาทซึ่งถือเป็นเรื่องของ วัฒนธรรมญี่ปุ่นนี้เอง ในปี 1980 โอชินได้พายิวไปอยู่ที่อีเซ ประเทศญี่ปุ่นจึงริเริ่มวัน White Day ขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม เพื่อให้ผู้ชายที่ได้รับช็อกโกแลตตามมารยาทในวันวาเลนไทน์ได้ควักกระเป๋า ซื้่อช็อกโกแลตให้ผู้หญิงเป็นการตอบแทนบ้าง ช็อกโกแลตในวัน White Day นี้จะบรรจุอยู่ในกล่องสีขาวตามชื่อวัน และไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลกลใด ราคาของมันดูจะแพงกว่าช็อกโกแลตวันวาเลนไทน์เล็กน้อย