ศาลโลก คืออะไร ?
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า -- อังคารที่ 15 สิงหาคม 2000 11:41:57 น.
ศาลโลก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" (International Court of Justice : ICJ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2489 มีฐานะเป็นองค์กรหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) สำนักงานของศาลโลกตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
หลักของศาลโลกมี 2 ประการ คือ
1. ตัดสินคดีพิพาทระหว่างรัฐบาลของรัฐภาคีที่เป็นสมาชิกของ UN และเป็นประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 62 ประเทศ จากสมาชิก UN รวม 188 ประเทศ นอกจากนี้ยังรวมถึงสวิตเซอร์แลนด์ ที่มิได้เป็นสมาชิกของ UN แต่ยอมรับอำนาจของศาลโลก
2. วินิจฉัย ตีความ และให้คำปรึกษา ในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแก่องค์กรระหว่างประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก
ศาลโลก ประกอบด้วย คณะผู้พิพากษาต่างสัญชาติกันจำนวน 15 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 9 ปี คณะผู้พิพากษาเหล่านี้ถือเป็นตัวแทนของ UN มิได้เป็นตัวแทนของรัฐบาลประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่
การนำคดีความหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้ศาลโลกพิจารณา เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ
1. รัฐคู่ความทำความตกลงกันให้นำกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างกันขึ้นสู่การพิจารณาตัดสินโดยศาลโลก
2. รัฐภาคีเป็นสมาชิกของสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงต่าง ๆ ซึ่งมีข้อบัญญัติไว้ว่าหากรัฐภาคีมีข้อสงสัยหรือข้อพิพาทระหว่างกัน ต้องให้ศาลโลกเป็นผู้วินิจฉัย ตีความ หรือตัดสิน
การวินิจฉัย ตีความ และพิจารณาคดีของศาลโลกนั้น ใช้กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับของชาติที่มีอารยธรรมเป็นหลัก ส่วนระเบียบวิธีพิจารณาคดีของศาลโลกก็คล้ายคลึงกับศาลทั่วไป โดยคู่พิพาทแต่ละฝ่ายต่างมีผู้แทนของรัฐและทนายความ เมื่อศาลโลกตัดสินคดีความใดแล้วต้องถือว่าเป็นอันยุติ ไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาแต่อย่างใด และหากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลก คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งสามารถร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้พิจารณาดำเนินการต่อไปได้ บางครั้ง UN อาจเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก UN ทำการคว่ำบาตรประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งจะได้ผลมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับความร่วมมือของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ด้วย
จนถึงปัจจุบันศาลโลกทำการตัดสินคดีพิพาทระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ มาแล้ว 69 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาเขตแดน ปัญหาอธิปไตยเหนือดินแดน ปัญหาน่านน้ำ ปัญหาการแทรกแซงกิจการภายในจากประเทศอื่น ปัญหาความสัมพันธ์ทางการทูต เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนั้นเคยนำคดีขึ้นสู่ศาลโลก 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2504 คือ คดีเขาพระวิหาร ผลปรากฏว่าไทยแพ้คดีต่อกัมพูชา
หลักของศาลโลกมี 2 ประการ คือ
1. ตัดสินคดีพิพาทระหว่างรัฐบาลของรัฐภาคีที่เป็นสมาชิกของ UN และเป็นประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 62 ประเทศ จากสมาชิก UN รวม 188 ประเทศ นอกจากนี้ยังรวมถึงสวิตเซอร์แลนด์ ที่มิได้เป็นสมาชิกของ UN แต่ยอมรับอำนาจของศาลโลก
2. วินิจฉัย ตีความ และให้คำปรึกษา ในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแก่องค์กรระหว่างประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก
ศาลโลก ประกอบด้วย คณะผู้พิพากษาต่างสัญชาติกันจำนวน 15 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 9 ปี คณะผู้พิพากษาเหล่านี้ถือเป็นตัวแทนของ UN มิได้เป็นตัวแทนของรัฐบาลประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่
การนำคดีความหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้ศาลโลกพิจารณา เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ
1. รัฐคู่ความทำความตกลงกันให้นำกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างกันขึ้นสู่การพิจารณาตัดสินโดยศาลโลก
2. รัฐภาคีเป็นสมาชิกของสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงต่าง ๆ ซึ่งมีข้อบัญญัติไว้ว่าหากรัฐภาคีมีข้อสงสัยหรือข้อพิพาทระหว่างกัน ต้องให้ศาลโลกเป็นผู้วินิจฉัย ตีความ หรือตัดสิน
การวินิจฉัย ตีความ และพิจารณาคดีของศาลโลกนั้น ใช้กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับของชาติที่มีอารยธรรมเป็นหลัก ส่วนระเบียบวิธีพิจารณาคดีของศาลโลกก็คล้ายคลึงกับศาลทั่วไป โดยคู่พิพาทแต่ละฝ่ายต่างมีผู้แทนของรัฐและทนายความ เมื่อศาลโลกตัดสินคดีความใดแล้วต้องถือว่าเป็นอันยุติ ไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาแต่อย่างใด และหากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลก คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งสามารถร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้พิจารณาดำเนินการต่อไปได้ บางครั้ง UN อาจเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก UN ทำการคว่ำบาตรประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งจะได้ผลมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับความร่วมมือของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ด้วย
จนถึงปัจจุบันศาลโลกทำการตัดสินคดีพิพาทระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ มาแล้ว 69 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาเขตแดน ปัญหาอธิปไตยเหนือดินแดน ปัญหาน่านน้ำ ปัญหาการแทรกแซงกิจการภายในจากประเทศอื่น ปัญหาความสัมพันธ์ทางการทูต เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนั้นเคยนำคดีขึ้นสู่ศาลโลก 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2504 คือ คดีเขาพระวิหาร ผลปรากฏว่าไทยแพ้คดีต่อกัมพูชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น