D-Day คืออะไร
D-Day ตัว D แรก
ย่อมาจากคำว่า Deliverance (ดีลิเวอแรนซ์) แปลว่าการมอบคืน
ส่งคืน การปลดปล่อย
เมื่อใช้กับคำว่าเดย์
ก็หมายถึงวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรมอบอิสรภาพและเอกราชคืนแก่ประเทศที่ถูกเยอรมนียึดครองในสมัยสงครามโลกครั้งที่
2
ถ้าจะจำให้ง่ายๆเข้าอีกนิด
นึกถึงฉากเปิดหนังของภาพยนตร์เรื่อง Saving
Private Ryan ก็แล้วกัน
ดีเดย์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1944 เมื่อกองทัพอเมริกันและสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส
ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญมากของสงครามตอนนั้น
เพราะหากสัมพันธมิตรตีคืนนอร์มังดี
ซึ่งกองทหารเยอรมันที่ยึดไว้ได้เมื่อไร
นั่นหมายถึงว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะเข้าบุกไล่กองทัพเยอรมนีให้ถอยร่นออกไปได้
การยกพลในวันนั้นนับเป็นการยกพลครั้งใหญ่ที่สุดของสงครามโลกครั้งที่
2 ซึ่งในที่สุดก็ลงเอยด้วยความปราชัยของฝ่ายเยอรมนี
ทางฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเรียกวันประวัติศาสตร์นั้นว่า
"ดี-เดย์"
โดยหลังจากนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรก็มีกำลังใจฮึกเหิมมาก
และทิ้งบอมบ์ทัพเยอรมนีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งชนะสงครามในปี 1945
ส่วนคำที่คล้ายๆกันได้แก่ May Day "เมย์ เดย์" ตรงกับวันที่ 1
พฤษภาคมของทุกปี ถือเป็น "วันแรงงาน"
ของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ส่วนที่อเมริกา แคนาดาและยุโรปตะวันตก
จะนับเอาวันเดียวกันนี้เป็นเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิด้วย
แต่ may day "เมย์เดย์ เมย์เดย์" ที่เราได้ยินในหนังฉากที่นักบินหรือกัปตันเรือขอความช่วยเหลือนั้น
มีที่มาอีกทาง แม้ว่าจะออกเสียงเหมือนกัน
จริงๆคำนี้ไม่เกี่ยวกับเดือนพฤษภาคมอะไร
แต่มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า m'aidez ออกเสียงว่า เมเดซ์
แปลว่ามาช่วยฉันด้วย
ประวัติของวันดีเดย์......
เหตุเกิดปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ดี-เดย์ (D-Day) คือวันที่กองทหารสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบก
ที่แคว้นนอร์มังดี ตอนเหนือของฝรั่งเศส
เพื่อปลดปล่อยฝรั่งเศสและประเทศยุโรปจากการยึดครองของเยอรมนี
โดยยกพลขึ้นบกที่ชายหาด 5 แห่ง ของนอร์มังดีซึ่งขานรหัสว่า
ยูทาห์ โอมาฮา โกลด์ จูโน และสอร์ด มีนายพลดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
เป็นผู้บัญชาการสูงสุด
6 มิถุนายน 1944 ป้อมปราการยุโรปของฮิตเลอร์
(Fortress Europe) ถูกโจมตีด้วยกำลังมหาศาลเท่าที่เคยมีมา
เรือรบ 4,000 ลำ ลำเลียงทหารและยุทโธปกรณ์ ภาคอากาศ
เครื่องบิน 11,000 ลำ
โจมตีทิ้งระเบิดแนวป้องกันชายฝั่งอย่างหนัก ปืนเรือระดมยิงซ้ำ
ขณะพลร่มโดดร่มลงภาคพื้นดิน เวลา 06.00 น.
ทหารสัมพันธมิตรระลอกแรกยึดหัวหาด 4 แห่งได้โดยง่าย
แต่ที่โอมาฮาเยอรมันโต้ตอบดุเดือด ความสูญเสียเกิดขึ้นมากมายก่อนภารกิจลุล่วง
จริงๆ แล้วเยอรมันรู้ล่วงหน้า
แต่ไม่ทราบแน่ว่าจะยกพลขึ้นที่ใด เนื่องจากแนวชายทะเลของฝรั่งเศสด้านที่ติดกับอังกฤษนั้นยาวมาก
ฮิตเลอร์เชื่อว่าจะเกิดขึ้นที่เมืองท่าคาเลซ์
ทางตอนเหนือซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส แต่นายพลเออร์วิน
รอมเมล แม่ทัพกลุ่มบีในประเทศฝรั่งเศส เชื่อว่าจะเกิดขึ้นบริเวณอื่น
เขาสั่งการสร้างป้อมและบังเกอร์เรียงรายตามแนวชายฝั่ง เพิ่มจำนวนรังปืนกล
เครื่องยิงลูกระเบิด ปืนครก บนหาดสร้างสิ่งกีดขวางเรือที่เรียกว่าเม่นทะเลและงาแซง
บวกกับการติดทุ่นระเบิดและกับระเบิดอีกจำนวนมาก
รอมเมลเชื่อว่าชัยชนะของการต่อต้านการยกพลขึ้นบกจะอยู่ที่ชายหาด
ใครยึดหาดได้จะเป็นผู้ชนะ แต่ฮิตเลอร์มองว่า
การรบขั้นแตกหักจะอยู่บนฝั่ง
คือปล่อยให้พันธมิตรขึ้นฝั่งแล้วเยอรมันเข้าบดขยี้
จึงสั่งการให้วางกำลังส่วนใหญ่ไว้แนวหลัง พร้อมเข้าเสริมกำลังที่ป้องกันชายหาด
รอมเมลจึงมีกองพลทหารราบ 38 กองพล วางกำลังตั้งแต่คาเลซ์
เหนือขึ้นไปทางฮอลแลนด์ และเลยลงไปถึงชายแดนสเปน
ซึ่งเป็นระยะทางยาวมากเมื่อเทียบกับกำลังทหารจำนวนเท่านั้น
กำลังทางอากาศก็มีเครื่องบินขับไล่เพียง 70 ลำ
เครื่องบินทิ้งระเบิด 90 ลำ และเครื่องบินอื่นๆ 160 ลำ น้อยเกินไปที่จะรับมือกับฝูงบินพันธมิตรจำนวนมหาศาล
กองกำลังพันธมิตรมีทหารราบ 39 กองพล (สหรัฐ 20 อังกฤษ 3
แคนาดา 1 ฝรั่งเศสอิสระ 1 โปแลนด์ 1) เครื่องบินขับไล่กว่า 5,000 ลำ เครื่องร่อน 2,600 ลำ เรือรบและเรืออื่นๆ กว่า 6,000
ลำ รวมทหาร 2,000,000 นาย
ชัยชนะของพันธมิตรได้มาบนความเสียหายยับเยินทั้งสองฝ่าย
ชีวิตทหารหมดเปลืองเรือนล้าน
สำหรับคำ ดี-เดย์ D-Day
เป็นรหัส D หมายถึง deliverrance การมอบคืน ดี-เดย์คือวันมอบคืนอิสรภาพให้แก่ประเทศที่เยอรมนีตียึด